Tuesday, May 4, 2010

3.8 แนวทางในการสร้างสรรค์งานกราฟิก

งานกราฟิกที่น่าสนใจจะต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเองชัดเจน การออกแบบจะเป็นตัวสนับสนุนให้งานน่าสนใจ การออกแบบจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากที่จะทำให้งานน่าสนใจ และการสร้างสรรค์งานออกแบบกราฟิกทั่วไป จะมีรูปแบบองค์ประกอบศิลป์สำหรับงานกราฟิกเพื่อการพิจารณา ดังนี้

1. แบบแถบตรง เป็นองค์ประกอบที่กำหนดเพื่อหาสาระรายละเอียดที่ต้องการนำเสนอเข้าด้วยกันให้อยู่ในขอบเขตแนวดิ่งตรง

2. แบบแกน เป็นลักษณะที่มีแกนกลาง และมีสาขาแยกย่อยออกไป โดยเน้นจุดเด่นที่แกน กิ่งก้านสาขาจะช่วยเป็นองค์ประกอบเสริมให้จุดเด่นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

3. แบบตาราง เป็นองค์ประกอบที่มีลักษณะเป็นตารางเล็กใหญ่สลับกับภาพในเนื้อหาที่ที่กำหนด

4. แบบกลุ่ม เป็นลักษณะการจัดรวมเป็นกลุ่มไม่เกิน 3 กลุ่มในชิ้นงาน และมีขนาดแตกต่างกัน โดยคำนึงถึงเรื่องการกำหนดพื้นที่ว่างด้วย

5. แบบต่อเนื่อง คือ องค์ประกอบที่จัดวางให้มีลักษณะที่ต่อเนื่องกัน โดยคำนึงถึงจังหวะลีลาของรูปทรงรวมกับพื้นที่ว่างด้วย

6. แบบอักษร อาจจัดเป็นแบบรูปทรงตัวอักษรอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีรูปร่างสวยงาม เช่น จัดแบบตัว T แบบตัว H แบบตัว S แบบตัว I หรือแบบตัว Z ก็ได้

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ,ออกแบบ,ดีไซน์,กราฟิก,แนวสร้างสรรค์งานกราฟิก,งานกราฟิก

Friday, April 2, 2010

3.7 การจัดองค์ประกอบ

1. จัดให้เป็นเอกภาพ ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่ช่วยทำให้ชิ้นงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ้งต้องขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์นั้นๆ ความเป็นเอกภาพจะครอบคลุมถึงเรื่องของความคิดและการออกแบบ

2. ความสมดุล ความสมดุลในงานกราฟิกเป็นเรื่องของความงาม ความน่าสนใจ เป็นการจัดสมดุลกันทั้งในด้านรูปแบบและสี มีอยู่ 2 ลักษณะที่สำคัญ คือ
- ความสมดุลในรูปทรงหรือความเหมือนกันทั้ง 2 ด้าน คือเมื่อมองดูภาพแล้วเห็นได้ทันทีว่า ภาพที่ปรากฎนั้นเท่ากัน ลักษณะภาพแบบนี้จะทำให้ความรู้สึกที่มั่นคง เป็นทางการ แต่อาจทำ ให้ดูน่าเบื่อได้ง่าย
- ความสมดุลในความรู้สึก หรือความสมดุลที่สองข้างไม่เหมือนกัน เป็นความแตกต่างกันทั้ง ในด้านรูปแบบ สี หรือพื้นผิว แต่เมื่อมองดูโดยรวม ขะเห็นว่าเท่ากัน ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้าง หนึ่ง ความสมดุลในลักษณะนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกเคลื่อนไหว แปรเปลี่ยน ไม่เป็นทางการ และ ไม่น่าเบื่อ

3. การจัดให้มีจุดสนใจ ภายในเนื่อหาที่จำกัดจะต้องมีการเน้น การเน้นจะเป็น ณ จุดใดจุดหนึ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญ อาจทำได้ด้วยภาพหรือข้อความก็ได้ โดยมีหลักว่า “ความคิดเดียวและจุดสนใจเดียว” การ มีหลายความคิด หรือมีจุดสนใจหลายจุด จะทำให้การออกแบบเกิดความล้มเหลวเพราะหาจุดเด่นชัดไม่ได้ ภาพรวมจะไม่ชัดเจน ขาดเอกลักษณ์ของความเป็นผู้นำในตัวชิ้นงาน

สำหรับวิธีการที่จะทำให้มีจุดสนใจอาจเน้นด้วย สี ขนาด สัดส่วน และรูปร่างที่แปลกไปกว่าส่วนอื่นๆในภาพ ส่วนตำแหน่งที่เหมาะสมในการวางจุดสนใจนั้นสามารถกระทำได้ดังนี้

นำภาพมาแบ่งเป็น 3 ส่วน บริเวณที่เส้นตัดกันนั้นก็คือ ตำแหน่งที่เหมาะสม จากผลการวิจัยหลายๆครั้ง พบว่า ตรงจุดตัดกันที่มุมบนซ้ายนั้นเป็นตำแหน่งที่ดีที่สุด เหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนก็คือ ในการอ่านหนังสือนั้น เรามักอ่านจากมุมซ้ายไปขวา และจากบนลงล่าง ฉะนั้น ตำแหน่งนี้จะเป็นจุดแรกที่สายตาเรามอง เพื่ออ่านหรือดูภาพบนแผ่นภาพนั้นเอง

ภาพที่ 31 จุดวางภาพที่เหมาะสม

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ,ออกแบบ,ดีไซน์,กราฟิก,องค์ประกอบของงานกราฟิก,งานกราฟิก

Thursday, April 1, 2010

3.6 ส่วนประกอบของการออกแบบเรขศิลป์

1. จุด เป็นส่วนประกอบที่เล็กที่สุด เป็นพื้นฐานเบื้องต้นของส่วนประกอบต่างๆ โดยอาจเรียงเป็นเส้นหรือรวมเป็นภาพ

2. เส้น เป็นส่วนประกอบของจุดหลายๆจุดต่อเนื่องกันจนกลายเป็นเส้น อาจเป็นเส้นตรง เส้นโค้งก็ได้ รวมถึงสิ่งอื่นๆ ที่มีลักษณะเป็นแนวเส้น

3. รูปร่าง เมื่อนำเส้นมาบรรจบกันจะเป็นภาพรูปร่างมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ กว้าง และยาว ซึ่งมีลักษณะ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปสามเหลี่ยม รูปกลม รูปหลายเหลี่ยม รูปอิสระไม่แน่นอน

4. รูปทรง เป็นลักษณะของรูป 3 มิติ ซึ่งนอกจากจะมีความกว้างความยาวแล้ว ยังเพิ่มความหนาขึ้นอีกด้วย ทำให้เราทราบถึงรูปร่างสัณฐานของวัตถุต่างๆได้

5. แสงและเงา เราวสามารถเห็นวัตถุต่างๆ ได้ก็ต่อเมื่อมีแสงไปกระทบวัตถุนั้น แล้วแสงจากวัตถุนั้นสะท้อนเข้าตาเรา จึงทำให้เราเห็นภาพขึ้น ส่วนเงานั้นจะทำให้เราเห็นภาพนั้นเด่นขึ้น หรือเห็นรายละเอียดชัดเจนขึ้นว่าวัตถุนั้นมีรูปร่างเป็นอย่างไร

6. สี มีอิทธิพลอย่างมากต่อมนุษย์เรา สีที่ปรากฏนั้นอาจเกิดจากการมองเห็นของสายตา จากการที่แสงส่องมากระทบวัตถุ เกิดจากสีที่มีอยู่ในตัวของวัตถุเอง เราอาจแยกสีเป็น 2 ประเภท คือ
- สีที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น สีของใบไม้ ดอกไม้ ท้องฟ้า สีผิว และอื่นๆอีกมากมาย
- สีที่เกิดจากการผลิตโดยมนุษย์ อาจให้สีเหมือนธรรมชาติ หรือสร้างขึ้นมาใหม่ก็ได้

7. ลักษณะพื้นผิว ในการออกแบบกราฟิก พื้นผิวมี 2 ลักษณะคือ
- พื้นผิวที่สามารถสัมผัสได้ อาจเรียบหรือขรุขระ
- พื้นผิวที่สื่อออกมาด้วยลายเส้น หรือวิธีการใดๆ ทางกราฟิก

8. สัดส่วน สัดส่วนทั้งในส่วนของวัตถุ และความเหมาะสมระหว่างวัตถุและบริเวณภาพ ซึ่งเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องขนาด ปริมาณ และบริเวณว่าง จะต้องพิจารณาให้ละเอียดไม่ควรละเลย ซึ่งจะมีผลต่อการสื่อความหมายได้

9. ทิศทาง เป็นการนำสายตา จูงใจ และแสดงความเคลื่อนไหว อาจแสดงด้วยเส้น ลูกศร สายตา การเดินทาง ถนน ฯลฯ

10.จังหวะ ลีลา การจัดวางเส้น รูปร่าง รูปทรง ที่มีความต่อเนื่อง มีลีลาที่เคลื่อนที่แสดงความถี่หรือใกล้ชิด ความห่างหรือไกลกัน และอาจมีความพอเหมาะพอดีที่เรียกว่า “ ลงตัว ”

11. บริเวณว่าง ควรจะคำนึงถึงและใช้ให้ถูกต้อง มิเช่นนั้นแล้วจะมีผลต่อการสื่อความหมายให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ การใช้บริเวณว่างที่เหมาะสมจะทำให้ได้ภาพชัดเจน ง่ายต่อการรับรู้และเข้าใจรวมไปถึงความงามอีกด้วย

12. ระยะของภาพสายตาของมนุษย์ เราจะมองเห็นภาพที่อยู่ใกล้ชัดเจนที่สุด และมองเห็นภาพที่อยู่ไกลเลือนราง ให้รายละเอียดไม่ชัดเจน การรับรู้ของสายตาและการถ่ายทอดเพื่อสื่อความหมายในเรื่องระยะของภาพนี้ ทำให้เกิดความถูกต้อง สมจริง บอกได้ถึงขนาด สัดส่วน ระยะทาง ความลึก ฯลฯ

ภาพที่ 30 ภาพระดับสายตาของมนุษย์แต่ละวัย

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ , ส่วนประกอบการออกแบบ , ออกแบบ , ดีไซน์ , กราฟิก

Friday, March 26, 2010

3.5 อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก

องค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยทำให้งานกราฟิกมีความโดดเด่นน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการทางศิลปะเป็นแนวทางในการออกแบบ โดยพิจารณาดังนี้

รูปแบบตัวอักษรและขนาด
การสร้างรูปแบบตัวอักษรให้มีรูปแบบแปลกตา สวยงามจะช่วยเร่งเร้าความรู้สึกตอบสนองได้เป็นอย่างดี โดยเน้นความชัดเจนสวยงาม สอดคล้องกับจุดประสงค์ สำหรับข้อความนำเรื่องและข้อความรายละเอียด นอกจากนั้นขนาดของตัวอักษรก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ขนาดของตัวอักษรทุกตัวบนชิ้นงานต้องมีความพอดี อ่านได้ง่าย สื่อความหมายได้ดีไม่ต้องคิดมาก นอกจากนั้นแล้วการจัดวางรูปแบบข้อความที่ดีก็จะช่วยให้การสื่อความหมายเป็น ไปอย่างมีประสิทธิภาพด้วย

การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง
การจัดพื้นที่ว่างในการออกแบบกราฟิก มีวัตถุประสงค์เพื่อการจัดระเบียบของข้อมูล ช่วยเน้นความเป็นระเบียบและความชัดเจน ระยะห่างหรือพื้นที่ว่างจะช่วยพักสายตาในการอ่าน ทำให้ดูสบายตา สร้างจังหวะลีลาขององค์ประกอบภาพให้เหมาะสมและสวยงาม

การกำหนดสี
สีมีบทบาทอย่างมากที่ช่วยเน้นความชัดเจน ทำให้สะดุดตา สร้างสรรค์ความสวยงาม การกำหนดสีใดๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของงานนั้นๆ ข้อสำคัญที่ควรคำนึงถึงคือ สีบนตัวภาพ พื้นภาพและตัวอักษร ต้องมีความโดดเด่น ชัดเจน เหมาะกับกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความชอบที่แตกต่างกัน นักออกแบบจะพยายามใช้สีเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์มากที่สุด

การจัดวางตำแหน่ง
เป็นการจัดวางโครงร่างทั้งหมดที่จะกำหนดตำแหน่งขนาดของภาพประกอบ ตำแหน่งของข้อความทั้งหมด และส่วนประกอบอื่นๆที่ปรากฏ ซึ่งต้องคำนึงถึงจุดเด่นที่ควรเน้น ความสมดุลต่างๆ ความสบายตาในการมอง นักออกแบบต้องให้ความสำคัญต่อทุกๆส่วนที่ปรากฏบนชิ้นงานเท่ากันทั้งหมด ความพอเหมาะพอดีช่วยให้งานออกแบบมีความน่าเชื่อถือและน่าสนใจ

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ,ออกแบบ,ดีไซน์,กราฟิก,องค์ประกอบของงานกราฟิก,งานกราฟิก,หลักการออกแบบ

3.4 ความสำคัญของการออกแบบงานเรขศิลป์


1. การออกแบบที่ดีทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนและถูกต้อง
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์สัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอๆ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม
7. ส่งเสริมความก้าวหน้าทางธุรกิจและการพัฒนาประเทศ
8. ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ,ออกแบบ,ดีไซน์,กราฟิก,คุณค่าของงานกราฟิก,งานกราฟิก,พื้นฐานการออกแบบ

Sunday, February 21, 2010

3.3 คุณค่าของงานกราฟิก

งานกราฟิกชิ้นที่ดีจะทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดยตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูลให้เกิดความสนใจและยอมรับ และในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึง

1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดความเข้าใจตรงกัน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างถูกต้องและชัดเจน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี
3. ช่วยทำให้เกิดความน่าสนใจ ประทับใจ และน่าเชื่อถือแก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
6. ทำให้ผู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ทั้งทางด้านการกระทำและความคิด

ที่มา : หนังสือ " เทคนิคการออกแบบงานกราฟิก "
keyword : เทคนิคการออกแบบ,ออกแบบ,ดีไซน์,กราฟิก,คุณค่าของงานกราฟิก,งานกราฟิก,พื้นฐานการออกแบบ

Tuesday, February 16, 2010

3.2 งานออกแบบเรขศิลป์หรือกราฟิกดีไซน์คืออะไร

งานออกแบบเรขศิลป์หรือกราฟิกดีไซน์ คือ การออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา ( เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง ) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน

ภาพที่ 25 ภาพปกอัลบั้มซีดี ซึ่งวาดในคอมพิวเตอร์


ภาพที่ 26 ภาพงานศิลปะบนกระดาษซึ่งวาดจากดินสอพู่กัน


ภาพที่ 27 ภาพกราฟิกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์

ความหมายของการออกแบบกราฟิก ( Definition of Graphic Design )ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “ กราฟิก ” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น คำว่าการออกแบบ ( Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่

ภาพที่ 28 ภาพโปสเตอร์โฆษณาสินค้า

การออกแบบกราฟิก หมายความหมายถึงใช้ความคิดและสามัญสำนึกในการทำงานที่ได้วางแผนไว้ให้ได้ตาม ความคาดหมายอย่างสมบูรณ์การถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นโครงสร้างระเบียบแบบแผนต่างๆ ทางทัศนสัญลักษณ์เป็นการออกแบบเพื่อให้อ่าน เช่น ออกแบบหนังสือ นิตยสารโฆษณา หีบห่อ ป้ายภาพยนต์ โทรทัศน์ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิทรรศการ เว็บไซต์ ความสำคัญของงานออกแบบการออกแบบที่ดีจะช่วยจัดระเบียบของสาระข้อมูลให้มีความกระชับและชัดเจนช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีความฉับไวและรัดกุมช่วยสร้างสรรค์สัญลักษณ์ทางสังคมเพื่อการสื่อความหมายร่วมกันช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้รับสารข้อมูลเกิดแนวคิดสร้างสรรค์จินตนาภาพได้ดี และมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างค่านิยมทางความงามส่งเสริมความก้าวหน้าทางธุรกิจและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม

กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์ , เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ
เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์ Graphic design criteria บรรทัดฐานในการออกแบบกราฟิก

เลขศิลป์ - เรขศิลป์ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า graphic ( ถ้ามีคำว่า design ก็ต้องมีคำว่า การออกแบบ ด้วย ) ซึ่งนักออกแบบ หรือคนทั่วไปมักจะสับสนว่าคำไหนเขียนถูกคำไหนเขียนผิด
แนวคิดวิธีพิสูจน์ว่าคำไหนถูกผิด เรียงจากความน่าเชื่อถือน้อยหรือมาก แบ่งได้ 3 วิธี

1. คนไทยใช้คำไหนบ่อยกว่ากันจาก google.com
เรขศิลป์ มีคำใน website ทั่วโลกทั้งหมด 878 คำ
เลขศิลป์ มีคำใน website ทั่วโลกทั้งหมด 1,810 คำ

2. การใช้คำในองค์กรต่างๆ
2.1 สังเกตได้จากคณะที่สอนด้านการออกแบบ
ม.จุฬาลงกรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ใช้คำว่า " ออกแบบเรขศิลป์ " เป็นสาขาหนึ่งของภาควิชานฤมิตศิลป์ ม.ศิลปกร คณะมัณฑนศิลป์ มีการใช้คำ " เลขศิลป์ "
ที่มา : http://www.decorate.su.ac.th/visual.html
2.2 จาก Wikipedia
Search คำว่า กราฟิกดีไซน์ มีการใช้คำว่า " การออกแบบเลขศิลป์ "
2.3 จากกระทู้ใน website freemac.net
http://www.freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=8567&highlight =
มีการใช้สรุปว่า " เรขศิลป์ " น่าจะเป็นการใช้คำที่ถูกต้อง

3. การประสมของคำ และความหมายแท้ๆของคำ
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
เรข , เรขาก. เขียน. ว. ดังเขียน , งาม.
( ป. , ส. เรขา ว่า ลาย , เส้น ).
เลข [เลก] น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง ; วิชาคํานวณ.
เลขกะ [เลขะกะ] น. ผู้เขียน , เสมียน. (ป. , ส.).
เลขนะ [เลขะนะ] น. รอยเขียน, ตัวอักษร, ลวดลาย. (ป. , ส.).
เลขยะ [เลขะยะ] น. การเขียน. (ส.).
เลขา น. ลาย , รอยเขียน , ตัวอักษร , การเขียน. ว. งามดังเขียน. (ป., ส.)
ศิลป , ศิลป์ ๑ , ศิลปะ [ สินละปะ , สิน , สินละปะ ] น. ฝีมือ , ฝีมือทางการช่าง , การทำให้
วิจิตรพิสดาร , เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ ; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์.
( ส. ศิลฺป ; ป. สิปฺป ว่ามีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม ).
จากความหมายสรุปได้ว่า เรข , เรขา , เลขา + ศิลป์ = เรขศิลป์ , เลขศิลป์
เหตุผล 3 ข้อที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่าการใช้คำภาษาไทยที่มาแทนคำว่า graphic design สามารถ
ใช้ได้ทั้ง " การออกแบบเลขศิลป์ " และ " การออกแบบเรขศิลป์ "
* graphic = เรขศิลป์ , เลขศิลป์
graphic design = การออกแบบเลขศิลป์ หรือการออกแบบเรขศิลป์

การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message) --วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ

สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)

ภาพที่ 29 งานออกแบบพาณิชย์ศิลป์

Monday, February 1, 2010

ส่วนที่ 3. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับการออกแบบเรขศิลป์

3.1 ความหมายของการออกแบบ
1.1 การออกแบบ คือ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นโดยไม่ได้ลอกเลียนของเดิม หรือความคิดที่มีมาก่อน เพื่อสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอย หรือความต้องการด้านอื่นๆ
1.2 การออกแบบ คือ การสร้างสรรค์ปรุงแต่งส่วนประกอบของศิลปะ เช่น แสง-เงา สี ลักษณะผิว ขนาด รูปร่าง เพื่อให้เกิดรูปทรงใหม่ตามความต้องการเกิดประโยชน์ใช้สอย และมีความงาม
1.3 การออกแบบ คือ การสร้างสรรค์ผลงานในรูป 2 มิติ และ 3 มิติ ให้เกิดความสวยงาม และสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความเหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆ
1.4 การออกแบบ คือ การแก้ปัญหา และรู้ หลักการในศิลปะ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ใช้สอย และมีความงาม ภาษาภาพ ( Visual Language )

ภาพที่ 22 ภาพจักรยานโดยการตัดทอนให้เหลือแต่ลักษณะเฉพาะของวัตถุ

มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นกลุ่มสังคม ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสร้างความเข้าใจระหว่างกันและกันตัวภาษามีจุดสำคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เช่น เรามีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียงออกมาเท่านั้น แต่ลองนึกภาพ ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโกเราจะพูดกับใคร พูดกันอย่างไร ภาษาพูดจึงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะข้อจำกัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา

ภาพที่ 23 ภาษาภาพในสถานที่ต่างๆเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใจได้ตรงกัน

( หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่ายหน้าปฏิเสธ ) ภาษาพูดไม่สามารถทำให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก มนุษย์จึงใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือ ภาษาภาพ ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การรับรู้ภาพ ( Perception Image ) การรับรู้ภาพเกิดจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก ผ่านการประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทำความเข้าใจ มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการฝึกฝนการมอง

ภาพที่ 24 ภาษาภาพในสถานที่ต่างๆเป็นเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใจได้ตรงกัน

ที่มา : - http://student.nu.ac.th/nackie/Instruction/lesson7.html

Sunday, January 17, 2010

ถ่านหิน Coal


ภาพที่ 21 โรงงานถ่านหินในเมืองไทย

ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ และมีส่วนประกอบ ที่เป็นสารประกอบ ของคาร์บอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยน้ำหนัก หรือ ร้อยละ 70 โดยปริมาตร และยังมีสารประกอบ อื่นๆ เช่น ไฮโดรเจน อ๊อกซิเจน ไนโตรเจน และกำมะถัน เป็นต้น การจำแนกคุณสมบัติของถ่านหิน ตามคุณสมบัติทางเคมี และค่าความร้อนอย่างหยาบๆ

ส่วนใหญ่มีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้หม้อไอน้ำ เช่น โรงงานกระดาษ และโรงงานชูรส เป็นต้น อย่างไรก็ตามในการ เผาไหม้ถ่านหินจะมีการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกไซด์ของไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ฝุ่นละออง และควัน ดังนั้น ก่อนนำเชื้อเพลิงไปใช้จะต้องหาวิธีการจัดการ กับมลพิษ โดยอาจเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดี หรืออาจลดปริมาณสารมลพิษในเชื้อเพลิง ก่อนนำไปใช้ หรือใช้เทคโนโลยี ในการกำจัดมลพิษที่เกิดขึ้น ก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html
- http://www.energy.go.th

น้ำมันดิบ Oil


ภาพที่ 20 โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม

น้ำมันดิบ มีสถานะตามธรรมชาติ เป็นของเหลวประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ชนิดระเหยง่าย เป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เหลือประกอบด้วย สารกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่นๆ ซึ่งมักเรียกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ราคาของน้ำมันดิบ จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันดิบว่า มีสิ่งปฏิกูลเจือปนมากน้อยเพียงใด ผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จากน้ำมันดิบ ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการหุงต้ม ในยานพาหนะ และในภาคอุตสาหกรรม น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในภาคคมนาคมขนส่ง ส่วนน้ำมันเตา จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ในภาคอุตสาหกรรม และในการขนส่งทางน้ำ เมื่อมีการนำน้ำมันเชื้อเพลิง ไปเผาไหม้ ก็จะมีฝุ่นละออง เขม่า และก๊าซที่ถูกปล่อยออกมา ระหว่างขบวนการเผาไหม้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุม ในเรื่องของคุณภาพน้ำมัน และการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการควบคุมเพื่อลดปริมาณ ฝุ่นละออง และก๊าซดังกล่าวไม่ให้เป็นอันตราย ต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas


ภาพที่ 18 สารประกอบก๊าซประเภทอื่นๆ

ก๊าซธรรมชาติ คือสารประกอบด้วย ไฮโดรคาร์บอนประเภทต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือ ประกอบด้วยก๊าซประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะไนโตรเจน คาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีไฮโดรเจนซัลไฟด์ ปนอยู่ด้วยในระดับหนึ่ง การซื้อขายก๊าซธรรมชาติ จะคิดราคาตามค่าความร้อน ของเชื้อเพลิง ส่วนข้อกำหนดอื่นๆ จะเป็นส่วนประกอบ ที่ช่วยให้ความมั่นใจ ในความสะอาดว่า จะไม่มีปัญหาในการใช้ ซึ่งปัญหาสิ่งแวดล้อม จากการใช้ก๊าซธรรมชาติ มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากในขบวนการ เผาไหม้ก๊าซธรรมชาติ จะถูกเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ ได้เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำ เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ ได้อย่างสูงสุด ก๊าซธรรมชาติจะถูกนำไปแยกก่อนการใช้ โดยส่วนที่เป็น ก๊าซมีเทน มักจะนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า และในอุตสาหกรรม รวมทั้ง ใช้เป็น เชื้อเพลิงในยานพาหนะ ส่วนที่เป็นอีเทน และโพรเพน จะนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และส่วนที่เป็นโพรเพนและบิวเทน จะนำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ

ภาพที่ 19 แท่นขุดก๊าซ

ก๊าซธรรมชาติคือสารประกอบของไฮโดรคาร์บอนซึ่งเป็นเพียงโมเลกุลเล็กๆ โดยโมเลกุลเหล่านี้สร้างจากอะตอมของคาร์บอนและไฮโดรเจน ตัวอย่างเช่นก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในบ้าน ( ก๊าซหุงต้ม ) โดยส่วนใหญ่คือ มีเทน CH4

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html
- จากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

พลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Energy


ภาพที่ 17 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์

พลังงานนิวเคลียร์ เป็นศัพท์คำหนึ่งที่มีความหมายสับสนเพราะโดยทั่วไป มักจะมีผู้นำไปใช้ปะปนกับคำว่า พลังงานนิวเคลียร์ โดยถือเอาว่า เป็นคำที่มีความหมายแทนกันได้ แต่ในทางวิศวกรรมนิวเคลียร์เราควรจะใช้คำพลังนิวเคลียร์เมื่อกล่าวถึงรูปแบบ หรือวิธีการ เปลี่ยนพลังงานจากรูปหนึ่งไปสู่อีกรูปหนึ่ง เช่น โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ย่อมหมายถึงโรงงานที่ใช้เปลี่ยนรูป พลังงานนิวเคลียร์มา เป็นพลังงานไฟฟ้า หรือ เรือขับเคลื่อนด้วย พลังนิวเคลียร์ ย่อมหมายถึงเรือที่ขับเคลื่อนโดยการเปลี่ยนรูป พลังงานนิวเคลียร์มา เป็นพลังกล เป็นต้น พลังนิวเคลียร์เป็นคำที่มาจาก Nuclear power ในภาษาอังกฤษ แต่ในภาษาอังกฤษเอง เมื่อกล่าว ถึงเรื่องที่เกี่ยวกับดุลอำนาจระหว่างประเทศ ( Nuclear power) กลับหมายถึง มหาอำนาจนิวเคลียร์ หรือประเทศที่มี อาวุธ นิวเคลียร์สะสมไว้เพียงพอที่จะใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองได้ (โดยเฉพาะเมื่อใช้เป็นพหูพจน์ ) การเน้นให้เห็นถึงความ แตกต่าง ระหว่างคำ พลังนิวเคลียร์ และ พลังงานนิวเคลียร์ ก็เพราะในด้านวิศวกรรม พลัง ควรมีความหมาย เช่น เดียวกับ กำลัง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงพลังในเชิงปริมาณจะต้องใช้หน่วยที่เป็นหน่วยของกำลัง เช่น "โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ ขนาด 600 เมกะวัตต์ ( ไฟฟ้า ) โรงนี้ใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด ( BWR ) ขนาด 1,800 เมกะวัตต์ ( ความร้อน ) เป็นเครื่องกำเนิด ไอน้ำแทน เตาน้ำมัน " เป็นต้น

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

Saturday, January 16, 2010

2.3 พลังงานสิ้นเปลืองคืออะไร Nonrenewable Energy

พลังงานสิ้นเปลือง คือ แหล่งพลังงานจากใต้พื้นดิน เมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่หรือหามาทดแทนโดยธรรมชาติได้ทันความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว ต้องใช้เวลานานกว่าร้อยล้านปีที่จะสร้างขึ้นมาอีกได้และมีปริมาณจำกัด ชื่อที่ใช้แทนพลังงานกลุ่มนี้จึงมีทั้งพลังงานฟอสซิล และพลังงานที่ใช้แล้วหมด ตัวอย่างของพลังงาน ได้แก่ น้ำมันดิบ ( ปิโตรเลียม ) , ถ่านหิน , ก๊าซธรรมชาติและพลังงานนิวเคลียร์( แร่ยูเรเนียม ) ฯลฯ

ภาพที่ 14 โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม


ภาพที่ 15 โรงงานถ่านหิน

พลังงานที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ส่วนมากนำมาจากแหล่งพลังงานสิ้นเปลือง เช่น เชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกน้ำมันดิบ ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ คุณเคยสงสัยไหม ทำไมเรียก " เชื้อเพลิงฟอสซิล " คำตอบก็คือ เชื้อเพลิงนี้เกิดขึ้นจากซากพืชซากสัตว์ที่ตายมานานนับล้านปี ทับถมอยู่ใต้ดินจนเปลี่ยนเป็นฟอสซิล จากนั้นเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติกลายเป็นน้ำมันดิบ ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ แต่ปัญหาคือไม่สามารถหามาทดแทนการใช้ได้ทัน โลกเราต้องใช้เวลานานเป็นล้านปีกว่าจะผลิตน้ำมันแต่ละลิตรได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เพราะการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจะได้ก๊าซพิษออกมาด้วย เช่น ฝุ่นละออง , เขม่าควัน , ไนโตรเจน , คาร์บอนมอนอกไซด์ , คาร์บอนไดออกไซด์และกำมะถันไดออกไซด์ ฯลฯ

ภาพที่ 16 โรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติ

พลังงานจากใต้พื้นดิน เมื่อใช้หมดแล้วไม่สามารถสร้างขึ้นมาใหม่หรือหามาทดแทนโดยธรรมชาติได้ทันความต้องการในเวลาอันรวดเร็ว ต้องใช้เวลานานกว่าร้อยล้านปีที่จะสร้างขึ้นมาอีกได้และมีปริมาณจำกัด ชื่อที่ใช้แทนพลังงานกลุ่มนี้จึงมีทั้งพลังงานฟอสซิล และพลังงานที่ใช้แล้วหมด อาทิเช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html
- จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- จากมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

Monday, January 11, 2010

พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy

ไฮโดรเจนถือได้ว่าเป็นเชื้อเพลิงอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดการเผาไหม้กับก๊าซออกซิเจน โดยจะมีเพียงไอน้ำเป็นผลพลอยได้ ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงอื่นๆที่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse gas) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำให้โลกร้อนขึ้น (Global warming)

ภาพที่ 12 ภาพรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนที่อเมริกา


ภาพที่ 13 ภาพการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้กับรถยนต์

นอกจากนี้ยังสามารถนำก๊าซไฮโดรเจนไปผลิตกระแสไฟฟ้าโดยป้อนเข้าเซลล์เชื้อเพลิง ( Fuel cell ) ซึ่งขณะนี้นักวิจัยทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมากในการพัฒนาเซลล์เชื้อเพลิงมาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เนื่องจากประสิทธิ ภาพของเซลล์เชื้อเพลิงมีค่าสูงกว่าอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าแบบอื่นๆมาก

ที่มา : - http://www.jobpub.com/articles/showarticle.asp?id=1699
- http://www.kingdomplaza.com/scoop/news.php?nid=2869
- http://www.dentistry.leeds.ac.uk/biochem/lecture/waterph/1.htm

พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy

พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติแล้ว อุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental Crust) หรือที่ความลึกประมาณ 25-30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000 องศาเซลเซียล ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 องศาเซลเซียส

พลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่า Hot Spots คือบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจายของความร้อนจากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (Geothermal Gradient) มากกว่าปกติประมาณ 1.5-5 เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้น ก็จะมีน้ำบางส่วนไหลซึม ลงไปภายใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำนั้นจะไปสะสมตัวและรับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะพยายามแทรกตัวตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาบนผิวดิน ปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน ,น้ำพุร้อน ,ไอน้ำร้อน ,บ่อโคลนเดือด เป็นต้น

ภาพที่ 11 โรงงานที่นำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้งาน

พลังงานความร้อนใต้พิภพมีปรากฏตามธรรมชาติในลักษณะน้ำพุร้อนกว่าหกสิบแห่งตามแนวเหนือ - ใต้ แถบชายแดนตะวันตกของประเทศไทย (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) สันนิษฐานว่าจะเป็นแหล่งเดียวกันกับที่แคว้นยูนานในประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากอยู่แนวซ้อนของแผ่นทวีปคู่เดียวกัน ( Indian - Plate ซึ่งมุดลงใต้ Chinese Plate และเกิดแรงดันในลักษณะ Back Arch ) จัดอยู่ในแหล่งพลังงานขนาดเล็กถึงปานกลางและคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานให้กับโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 50 เมกะวัตต์

ที่มา : - กระทรวงพลังงาน
- http://www.energy.go.th
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/underworld.html

พลังงานชีวมวล Biomass Energy


พลังงานจากชีวมวล คือ สารทุกรูปแบบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต รวมทั้ง การผลิตจากการเกษตรและป่าไม้ เช่น ไม้ฟืน แกลบ ขี้เลื่อย กากอ้อย ชานอ้อย กากมะพร้าว ฯลฯ ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอื่นๆ รวมถึง ของเสียจากสัตว์ เช่นมูลสัตว์และของเสีย จากโรงงานแปรรูปทางเกษตร และขยะมาผลิตก๊าซชีวภาพ ในการผลิตพลังงาน จำนวนเท่าๆ กันต้องใช้ไม้ฟืน ในปริมาตรที่มากกว่าน้ำมันและถ่าน ดังนั้น จึงเหมาะที่จะใช้ใน ครัวเรือน

ภาพที่ 10 ประเภทของพลังงานชีวมวล

การผลิตร่วม ( Co - Generation ) ซึ่งมีใช้อยู่แล้วหลายแห่งในประเทศ ทั้งนี้รวมถึงการใช้ไม้ฟืนจากโครงการปลูกไม้โตเร็วในพื้นที่นับล้านไร่ อนึ่งสำหรับผลิตผลจากชีวมวลในลักษณะอื่นที่ยังใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เช่น แอลกอฮอล์จากมันสัปปะหลัง ก๊าซจากฟืน ( Gasifier ) ก๊าซจากการหมักเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร
( Bio Gas ) หรือจากขยะ เป็นต้น

ที่มา : - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี.
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/biomass.html
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

พลังงานคลื่นในทะเล Ocean Tidal Energy

กระแสคลื่นในทะเลหรือมหาสมุทรสามารถที่จะนำมาผลิตไฟฟ้าได้โดยอาศัยอุปกรณ์ที่ดึงพลังงานจากคลื่นมาใช้โดยตรง ซึ่งจะทำการแปลงการเคลื่อนไหวในแนวตั้งของกระแสคลื่นและการพองตัวของฟองอากาศไปผลักให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าหมุน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานคลื่นสามารถที่จะทำได้ทั้งแบบระบบที่ติดตั้งไปตามชายฝั่งและระบบนอกฝั่งน้ำลึกมากกว่า 40 เมตร

ภาพที่ 8 การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานคลื่น


ภาพที่ 9 การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานคลื่น

ที่มา : - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี.
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/wave.html
- http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?pid=62559
- http://www.lunarenergy.co.uk/newsDetail.php?id=14
- http://jusci.net/taxonomy/term/803
- http://www.energy.go.th

Sunday, January 10, 2010

พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy


ภาพที่ 7 โครงสร้างเครื่องกำเนิดไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง

ระดับน้ำที่มีความแตกต่างกันที่เราเรียกว่าน้ำขึ้นน้ำลงนั้นสามารถที่จะเปลี่ยนมาเป็นพลังงานที่นำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้เช่นกัน ถ้าค่าพิสัยของระดับน้ำขึ้นน้ำลงนั้นมากกว่า 5 เมตรขั้นไป ซึ่งในกรณีนี้จำเป็นต้องสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำหรือปากอ่าวเพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำ เมื่อน้ำขึ้นนั้นน้ำจะไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำ และเมื่อน้ำลงน้ำจะไหลออกจากอ่างเก็บน้ำการไหลเข้าไหลออกนี้สามารถน้ำไปหมุนกังหันหรือใบพัดที่ติดตั้งอยู่กับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าได้ นอกจากนี้กังหันน้ำขึ้นน้ำลง ( Tidal Turbine ) ยังใช้เป็นอุปกรณ์ในการผลิตไฟฟ้า โดยจะเรียงตัวอยู่ใต้ริมชายฝั่งที่ความลึกประมาณ 20 - 30 เมตร

ที่มา : - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี.
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/tidal.html
- http://eestaff.kku.ac.th/~amnart/Power/Tidal.doc
- http://teenet.chiangmai.ac.th/emac/journal/2003/19/04.php
- http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=62559
- http://www.lunarenergy.co.uk/newsDetail.php?id=14
- http://jusci.net/taxonomy/term/803
- http://www.energy.go.th

พลังงานแสงอาทิตย์ SolarCell

พลังงานแสงอาทิตย์ จัดเป็นพลังงานทดแทนประเภทหนึ่งที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในประเทศไทยเนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพอากาศในประเทศเรา ซึ่งโดยส่วนมากแล้วจะ นิยมนำมาใช้เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าโดยอุปกรณ์ในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าเราจะเรียกว่า เซลแสงอาทิตย์
( SolarCell )

ภาพที่ 5 การทำงานของเซลแสงอาทิตย์

เซลแสงอาทิตย์ ( SolarCell )เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า และทำจากสารที่เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิคอน แคลเมี่ยม เป็นต้น

ภาพที่ 6 เซลแสงอาทิตย์

ที่มา : - มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตนนทบุรี.
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/solar.html
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

พลังงานลม Wind Energy


ภาพที่ 4 กังหันลมคือการนำเอาลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์

พลังงานลม เป็นพลังงานตามธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ หรือความกดดันของบรรยากาศ ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเอาพลังงานลมมาใช้ประโยชน์มากขึ้น เนื่องจากพลังงานลมไม่จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อหาเหมือนกับพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ในประเทศไทยบางพื้นที่ยังมีปัญหาในการวิจัยพัฒนานำเอาพลังงานลมมาใช้งานเนื่องจากปริมาณของลมไม่สม่ำเสมอตลอดปี แต่ก็ยังคงมีพื้นที่บางพื้นที่สามารถนำเอาพลังงานลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ เช่น พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลเป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยในการเปลี่ยนจากพลังงานลมออกมาในรูปอื่นๆ เช่น พลังงานไฟฟ้า หรือพลังงานกลได้แก่ กังหันลม นั่นเอง
ลักษณะของกังหันลมชนิดนี้จะเป็นกังหันที่มีแกนหมุน และใบพัดตั้งฉากกับแนวกาเคลื่อนที่ของแรงลมในแนวราบ ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติที่จะสามารถรับลมได้ทุกทิศทางไม่ว่าการเคลื่อนที่ของลมจะมาในลักษณะใดก็ตาม แต่ข้อเสียของกังหันลมประเภทนี้คือมีใบพัดขนาดใหญ่ทำให้การพัฒนาหรือในกรณีที่ต้องการขยายขนาดของใบพัดนั้น ทำได้ยากจึงไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน

ที่มา : - http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/wind.html
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

พลังงานน้ำ Wave Energy


ภาพที่ 3 การทำงานของแรงดันน้ำในการผลิตพลังงาน

พลังน้ำ เป็นพลังงานที่ได้มาจากแรงอัดดันของน้ำ ที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อน น้ำที่ปล่อยไปนี้ จะได้รับการทดแทนทุกปี โดยฝนหรือการละลายของหิมะ แต่ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ต้องมีการอพยพสัตว์ป่า และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพแวดล้อม บริเวณดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป

ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html

Friday, January 8, 2010

ส่วนที่ 2. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับ พลังงานทดแทน

2.2 พลังงานหมุนเวียนคืออะไร Renewable Energy
พลังงานหมุนเวียน คือ พลังงานที่ได้มาจากกระแสพลังงานที่ต่อเนื่องและเกิดซ้ำ ๆ ในสิ่งแวดล้อม แหล่งของพลังงานหมุนเวียน คือ แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นอยู่ต่อเนื่องไม่หมดไป เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล หรือแม้แต่ขยะมูลฝอย เป็นต้น ซึ่งเทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานหมุนเวียนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า

ภาพที่ 1 อุปกรณ์ที่ใช้แผงโซล่าเซลล์ทำความร้อนกับน้ำในการผลิตพลังงาน

ส่วนประเทศไทยในอดีตนั้นการผลิตไฟฟ้าได้ถูกจำกัดสิทธิแก่เฉพาะการไฟฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น แต่กฎระเบียบเหล่านี้ได้รับการพัฒนา จนเอกชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้ด้วยเช่นกัน ตลอดถึงเอกชนรายเล็ก ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าแล้วส่งขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ด้วย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้สนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว หรือต้องการมีบ้านเรือนหรือโรงงานที่มีระบบไฟฟ้าเองเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
พลังงานเป็นปัจจัยสำคัญในการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชน ทั้งยังเป็นปัจจัยหลักในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม หรือเราอาจเปรียบพลังงานได้กับออกซิเจนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยังส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานของโลกเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้แหล่งพลังงานฟอสซิล ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานเชิงพาณิชย์ที่ใช้แล้วหมดไป เช่น ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน
มีปริมาณลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะน้ำมันมีแนวโน้มว่าจะหมดลงภายในไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้ ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งหาพลังงานทดแทนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยและมีปริมาณมากเพียงพอต่อความต้องการนั้นจึงเป็นที่มาของพลังงานหมุนเวียน

ภาพที่ 2 วงจรของการใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียน

ประโยชน์ที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนมีหลาย ๆ ด้าน ทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษจากการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ อีกทั้งลดการนำเข้าเชื้อเพลิงพวกนี้จากต่างประเทศ และพลังงานเชื้อเพลิงยังให้ผลตอบแทนการลงทุนที่น่าสนใจอีกด้วย
ซึ่งวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรสามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ และถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์จากสิ่งด้อยค่าให้กลับมามีค่าในการพัฒนาประเทศได้ นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ ที่จะนำไปสู่การเกิดปฏิกริยาเรือนกระจกและจะทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น

พลังงานหมุนเวียนในประเทศไทย
เนื่องจากประเทศไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม ในแต่ละปีจะมีผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นข้าว น้ำตาล ยางพารา น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลัง เมื่อผ่านการแปรรูปแล้วผลผลิตเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะส่งออกไปขายยังต่างประเทศมีมูลค่าปีละหลายหมื่นล้านบาท โดยในการแปรรูปจะมีวัสดุเหลือทิ้งออกมาจำนวนหนึ่งเสมอ บรรดาโรงงานน้ำตาล โรงงานเยื่อกระดาษ โรงสีข้าว และโรงงานน้ำมันปาล์มก็ได้อาศัยชีวมวลเหลือทิ้งของตนเองเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงงาน และกำลังการผลิตส่วนเกินก็สามารถขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) ได้อีกด้วย
ซึ่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพในประเทศไทย และได้มีการพัฒนาและทดลองติดตั้งอยู่แล้วในประเทศไทย มีหลายประเภท ดังนี้

ที่มา : - http://www.panyathai.or.th
- http://www.energy.go.th
- สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html
- นิตยสารสารคดี
- http://www.netmeter.org
- http://www.leonics.co.th
- สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงแรงงาน

ส่วนที่ 1. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับองค์กร

1.1 ประวัติและความเป็นมา
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เดิมชื่อว่า " การพลังงานแห่งชาติ " จัดตั้งขึ้น โดยมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติการพลังงานแห่งชาติขึ้น ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 70 ตอนที่ 3 ลงวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2496 โดยมีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า " คณะกรรมการพลังงานแห่งชาติ " เป็นผู้วางนโยบายและพิจารณาโครงการต่าง ๆ อันเกี่ยวกับพลังงาน และมีหน่วยราชการขึ้นหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากรม มีชื่อว่า " การพลังงานแห่งชาติ " ตั้งแต่ วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2496 เป็นต้นมา และได้มีการปรับเปลี่ยนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
7 มกราคม พ.ศ. 2496
เริ่มก่อตั้ง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มีสำนักงานชั่วคราวอยู่ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. 2497 ได้ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่ศาลาลูกขุนในพระบรมมหาราชวัง
13 กรกฎาคม พ.ศ. 2502
ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ บ้านพิบูลธรรม เชิงสะพานกษัตริย์ศึก ยศเส จนถึงปัจจุบัน
23 พฤษภาคม พ.ศ. 2506
ย้ายไปสังกัด กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ โดย พระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2506
1 ตุลาคม พ.ศ. 2514
ย้ายมาสังกัด สำนักนายกรัฐมนตรีตามเดิม และเปลี่ยนชื่อเป็น "สำนักงานพลังงานแห่งชาติ"
24 มีนาคม พ.ศ. 2522
ย้ายไปสังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535
เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน" สังกัด กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ตามประกาศพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ ์ พ.ศ. 2535
4 เมษายน พ.ศ. 2535
เปลี่ยนชื่อสังกัดเป็น “กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม ”
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เปลี่ยนชื่อเป็น “กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน" สังกัดกระทรวงพลังงานตามประกาศพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 99 ก ลงวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2545

1.2 วิสัยทัศน์ พันธกิจ หน้าที่
วิสัยทัศน์ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
เป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดระดับแนวหน้าของเอเซีย ภายในปี พ.ศ. 2554
พันธกิจ ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานสะอาดที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่อย่างคุ้มค่าและยั่งยืน พัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดเชิงพาณิชย์ทั้งด้านการบริโภคภายในและการส่งออก รวมทั้ง การสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน เพื่อเศรษฐกิจมั่นคง สังคมเป็นสุขอย่างยั่งยืน
หน้าที่ ความรับผิดชอบของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน
ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน : รับผิดชอบในการส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน กำกับการอนุรักษ์พลังงาน จัดหาแหล่งพลังงาน พัฒนาทางเลือกการใช้พลังงานแบบผสมผสาน และเผยแพร่เทคโนโลยีด้านพลังงานอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ ด้วยต้นทุนที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ภาระหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พ.ศ. 2535 : รับผิดชอบกำกับ ดูแลส่งเสริม และช่วยเหลือให้โรงงานควบคุม และอาคารควบคุมได้ปฏิบัติตามกฏหมาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิและประหยัด

1.3 ยุทธศาสตร์พลังงานทดแทน
พลังงานทดแทน หมายถึง พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง สามารถแบ่งตามแหล่งที่ได้มากเป็น 2 ประเภท คือ พลังงานทดแทนจากแหล่งที่ใช้แล้วหมดไป อาจเรียกว่า พลังงานสิ้นเปลือง ได้แก่ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ นิวเคลียร์ หินน้ำมัน และทรายน้ำมัน เป็นต้น และพลังงานทดแทนอีกประเภทหนึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน ได้แก่ แสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล น้ำ และไฮโดรเจน เป็นต้น ซึ่งในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะศักยภาพ และสถานภาพการใช้ประโยชน์ของพลังงานทดแทน การศึกษาและพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นการศึกษา ค้นคว้า ทดสอบ พัฒนา และสาธิต ตลอดจนส่งเสริมและเผยแพร่พลังงานทดแทน ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น พลังงานลม แสงอาทิตย์ ชีวมวล และอื่นๆ เพื่อให้มีการผลิต และการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลาย มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมทั้งทางด้านเทคนิค เศรษฐกิจ และสังคม สำหรับผู้ใช้ในเมือง และชนบท ซึ่งในการศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาพลังงานทดแทนดังกล่าว ยังรวมถึงการพัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ และอุปกรณ์เพื่อการใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วย งานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นส่วนหนึ่งของแผนงานพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งมีโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรงภายใต้แผนงานนี้คือ โครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงาน และมีความเชื่อมโยงกับแผนงานพัฒนาชนบทในโครงการจัดตั้งระบบผลิต
ไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้า โดยงานศึกษา และพัฒนาพลังงานทดแทนจะเป็นงานประจำที่มีลักษณะการดำเนินงานของกิจกรรมต่างๆ ในเชิงกว้างเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ทั้งในด้านวิชาการเชิงทฤษฎี และอุปกรณ์เครื่องมือทดลอง และการทดสอบ รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุน และรองรับความพร้อมในการจัดตั้งโครงการใหม่ๆ ในโครงการศึกษาวิจัยด้านพลังงานและโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การศึกษาค้นคว้าเบื้องต้น การติดตามความก้าวหน้าและร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาต้นแบบ ทดสอบ วิเคราะห์ และประเมินความเหมาะสมเบื้องต้น และเป็นงานส่งเสริมการพัฒนาโครงการที่กำลังดำเนินการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ตลอดจนสนับสนุนให้โครงการที่เสร็จสิ้นแล้วได้นำผลไปดำเนินการส่งเสริม และเผยแพร่และการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป

ที่มา : กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
Department of Alternative Energy Development and Energy Conservation (Pp.) Department of Energy.

โครงการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน

ผู้เสนอโครงการ นายกฤษณ์ ชลวัฒน์ นิสิตสาขานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ตามนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พ.ศ.2535โดยการส่งเสริมความรู้เรื่องพลังงานทดแทนให้มีการสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิและประหยัด ก่อให้เกิดการผลิตพลังงานใช้ในครัวเรือน และชุมชนขนาดเล็กที่ต้องการไฟฟ้าใช้ในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการสร้างความมั่นคงระยะยาวในการจัดหาพลังงานให้กับตนเอง และไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ด้านการบริโภคภายในและการส่งออก ทั้งนี้เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ จึงตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ความร่วมมือ ที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน ตามนโยบายแผนพัฒนา ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนดังข้างต้น


ในปัจจุบันประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญและสนใจด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องหาจากต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะมีราคาสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้กำหนดกลยุทธ์การสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตพลังงานทดแทนอื่นๆ และพลังงานสะอาดก็เป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งในการสนับสนุนพัฒนาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ พลังงานสะอาดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา ไม่มีราคาค่าเชื้อเพลิง และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน และมีความมั่นคงด้านพลังงานกับประเทศได้ในระยะยาว
เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานทดแทนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานทดแทนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ในอนาคตประชาชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานต่างๆ ด้วยตนเอง ตลอดจนเอกชนรายย่อย ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้เอง เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว พลังงานทดแทนในประเทศไทยที่มีการใช้งานดังนี้ พลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากลม แสงจากอาทิตย์ ฯลฯ ชนิดของการใช้พลังงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ซึ่งจะนำเอาหน้าที่ของแต่ละชนิดนี้มาเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานทดแทนต่อไป
เนื่องด้วยทางกรมฯ ยังขาดสื่อเรขศิลป์ที่เข้าใจได้ง่ายในเรื่องพลังงานแต่ละชนิด เพราะการที่จะเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานต่างๆนั้น มีน้อยและยังไม่มากพอต่อความต้องการของประชาชน ข้อมูลที่เป็นเอกสารอย่างเดียวคงยังไม่พอ จึงต้องมีภาพสัญลักษณ์ ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดพลังงาน เพื่อสะดวกในการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่องค์กรต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดโครงการออกแบบเรขศิลป์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

วัตถุประสงค์ทางการศึกษา
1. เพื่อพัฒนารูปแบบเรขศิลป์และภาพลักษณ์ขององค์กร
2. เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์กร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
1. ได้รับแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์และแนวทางในการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
2. ก่อให้เกิดงานเรขศิลป์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทางเลือก



ขอบเขตการศึกษา
1. ออกแบบภาพต้นแบบสัญลักษณ์ ( Symbolic )
1.1 Symbolic พลังงานน้ำ 1 ชุด
1.2 Symbolic พลังงานลม 1 ชุด
1.3 Symbolic พลังงานชีวมวล 1 ชุด
1.4 Symbolic พลังงานไฮโดรเจน 1 ชุด
1.5 Symbolic พลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด
1.6 Symbolic พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง 1 ชุด
1.7 Symbolic พลังงานคลื่นในทะเล 1 ชุด
1.8 Symbolic พลังงานความร้อนใต้พิภพ 1 ชุด
1.9 Symbolic พลังงานนิวเคลียร์ 1 ชุด
1.10 Symbolic ก๊าซธรรมชาติ 1 ชุด
1.11 Symbolic น้ำมันดิบ 1 ชุด
1.12 Symbolic ถ่านหิน 1 ชุด
2. ออกแบบตราสัญลักษณ์องค์กร 1 ชุด
3. ออกแบบภาพลักษณ์องค์กร
3.1 นามบัตร (Visiting Card ) 10 แบบ
3.2 จดหมาย (Letters ) 10 แบบ
3.3 เว็บไซด์ (Website ) 10 หน้า
3.4 ธง (Organization flag ) 2 แบบ
3.5 รถบรรทุก (Organization Truck) 2 แบบ
3.6 รถรับส่งพนักงาน (Officer Bus) 1 แบบ
3.7 บัตรพนักงาน (Officer Card ) 1 แบบ
3.8 สมุดพนักงาน (Officer Notebook ) 1 แบบ
3.9 เสื้อพนักงาน (Officer Shirt ) 1 ชุด
3.10 ชุดพนักงาน (Officer Clothes ) 2 ชุด
3.11 ป้ายสัญจร (Sign Travels) 3 ชุด
3.12 ทางเข้าออก (Outside Door ) 1 ชุด
3.13 เคาน์เตอร์ภายใน (Counter Within ) 1 ชุด
4. ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
4.1 สื่อนิตยสาร (Magazine Media ) 1 ชุด
4.2 ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ( Billboard ) 1 ชุด

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1.1 รวบรวมข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
1.2 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์
1.3 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแนวทางการประชาสัมพันธ์
2. ศึกษาและวิเคราะห์
2.1 ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการออกแบบ
2.2 ศึกษาและวิเคราะห์สื่อประชาสัมพันธ์
3. ดำเนินงาน
3.1 สรุปข้อมูลและการเขียนรายงาน
3.2 สร้างสรรค์งานออกแบบ
3.3 นำเสนอผลงาน

สถานที่ทำการศึกษา
1. ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
2. เว็บไซท์กระทรวงพลังงาน
3. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
4. สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยบูรพา

Archive