งานออกแบบเรขศิลป์หรือกราฟิกดีไซน์ คือ การออกแบบรูปภาพสัญลักษณ์ที่มองเห็นด้วยตา ( เป็นทัศนศิลป์อย่างหนึ่ง ) และมีหน้าที่สื่อความหมายจากสัญลักษณ์สู่ความหมาย คนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดว่ากราฟิกดีไซน์เป็นงานที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์หรือเป็นการสร้างแอนิเมชันสามมิติ ซึ่งในความเป็นจริง คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ช่วยในการสร้างงานกราฟิกดีไซน์ได้ เช่นเดียวกับ ดินสอ ปากกา พู่กัน
ภาพที่ 25 ภาพปกอัลบั้มซีดี ซึ่งวาดในคอมพิวเตอร์
ภาพที่ 26 ภาพงานศิลปะบนกระดาษซึ่งวาดจากดินสอพู่กัน
ภาพที่ 27 ภาพกราฟิกที่ทำด้วยคอมพิวเตอร์
ความหมายของการออกแบบกราฟิก ( Definition of Graphic Design )ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “ กราฟิก ” ไว้อยู่หลายความหมายด้วยกัน ในสมัยโบราณหมายความถึง ภาพลายเส้นหรือภาพที่เกิดจากการวัด จากการขีดเขียนที่แสดงด้วยตารางหรือแผนภาพ การวาดเขียนการระบายสี การสร้างงานศิลปะบนพื้นระนาบ หรืออาจกล่าวอีกนักหนึ่งว่างานกราฟิกหมายถึงกระบวนการออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ คือมีความกว้างและความยาวเท่านั้น เช่น งานออกแบบบ้านของสถาปนิกในการเขียนแบบ ตัวภาพและรายละเอียดบนแปลนบ้านเรียกว่าเป็นงานกราฟิกการเขียนภาพเหมือนจริงของจิตรกร การออกแบบภาพโฆษณาของนักออกแบบ การออกแบบฉลาก หรือลวดลายหรือภาพประกอบ หรือตัวอักษรที่ปรากฏบนฉลากสินค้า บนตัวสินค้าหรือบนภาชนะบรรจุสินค้า ฯลฯ เหล่านี้จัดว่าเป็นงานกราฟิกทั้งสิ้น คำว่าการออกแบบ ( Design) ก็มีความหมายเป็นหลายนัยเช่นกัน จากรายศัพท์ลาตินคำว่า Design ซึ่งมาจาก Designare หมายถึงกำหนดออกมา กะหรือขีดหมายไว้ เป้าหมายที่จะแสดงออกซึ่งหมายถึงสิ่งที่อยู่ในอำนาจความคิด (Conscious) อันอาจเป็นโครงการ รูปแบบหรือแผนผังที่ศิลปินกำหนดขึ้นด้วยการจัดท่าทางถ้อยคำ เส้น สี รูปแบบ โครงสร้างและวัสดุต่างๆ โดยใช้หลักเกณฑ์ทางความงามหรือสุนทรียภาพ (Aesthetic Principle) ประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์ขึ้นจากสิ่งที่ง่ายที่สุด ไปจนสิ่งที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนเต็มที่
ภาพที่ 28 ภาพโปสเตอร์โฆษณาสินค้า
การออกแบบกราฟิก หมายความหมายถึงใช้ความคิดและสามัญสำนึกในการทำงานที่ได้วางแผนไว้ให้ได้ตาม ความคาดหมายอย่างสมบูรณ์การถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นโครงสร้างระเบียบแบบแผนต่างๆ ทางทัศนสัญลักษณ์เป็นการออกแบบเพื่อให้อ่าน เช่น ออกแบบหนังสือ นิตยสารโฆษณา หีบห่อ ป้ายภาพยนต์ โทรทัศน์ โปสเตอร์ แผ่นพับ นิทรรศการ เว็บไซต์ ความสำคัญของงานออกแบบการออกแบบที่ดีจะช่วยจัดระเบียบของสาระข้อมูลให้มีความกระชับและชัดเจนช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารมีความฉับไวและรัดกุมช่วยสร้างสรรค์สัญลักษณ์ทางสังคมเพื่อการสื่อความหมายร่วมกันช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทำให้ผู้รับสารข้อมูลเกิดแนวคิดสร้างสรรค์จินตนาภาพได้ดี และมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างค่านิยมทางความงามส่งเสริมความก้าวหน้าทางธุรกิจและการพัฒนาทางอุตสาหกรรม
กราฟิกดีไซน์ เป็นการทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ graphic design คำว่า graphic มีคำในภาษาไทยที่ใช้แทนได้คือ เรขศิลป์ , เลขนศิลป์ หรือ เรขภาพ ส่วน design แปลว่า การออกแบบ
เมื่อรวมกันแล้ว กราฟิกดีไซน์จึงมีหมายความว่า การออกแบบเรขศิลป์ หรือ การออกแบบเลขนศิลป์ Graphic design criteria บรรทัดฐานในการออกแบบกราฟิก
เลขศิลป์ - เรขศิลป์ ซึ่งเป็นความหมายของคำว่า graphic ( ถ้ามีคำว่า design ก็ต้องมีคำว่า การออกแบบ ด้วย ) ซึ่งนักออกแบบ หรือคนทั่วไปมักจะสับสนว่าคำไหนเขียนถูกคำไหนเขียนผิด
แนวคิดวิธีพิสูจน์ว่าคำไหนถูกผิด เรียงจากความน่าเชื่อถือน้อยหรือมาก แบ่งได้ 3 วิธี
1. คนไทยใช้คำไหนบ่อยกว่ากันจาก google.com
เรขศิลป์ มีคำใน website ทั่วโลกทั้งหมด 878 คำ
เลขศิลป์ มีคำใน website ทั่วโลกทั้งหมด 1,810 คำ
2. การใช้คำในองค์กรต่างๆ
2.1 สังเกตได้จากคณะที่สอนด้านการออกแบบ
ม.จุฬาลงกรณ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ใช้คำว่า " ออกแบบเรขศิลป์ " เป็นสาขาหนึ่งของภาควิชานฤมิตศิลป์ ม.ศิลปกร คณะมัณฑนศิลป์ มีการใช้คำ " เลขศิลป์ "
ที่มา : http://www.decorate.su.ac.th/visual.html
2.2 จาก Wikipedia
Search คำว่า กราฟิกดีไซน์ มีการใช้คำว่า " การออกแบบเลขศิลป์ "
2.3 จากกระทู้ใน website freemac.net
http://www.freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=8567&highlight =
มีการใช้สรุปว่า " เรขศิลป์ " น่าจะเป็นการใช้คำที่ถูกต้อง
3. การประสมของคำ และความหมายแท้ๆของคำ
จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542
เรข , เรขาก. เขียน. ว. ดังเขียน , งาม.
( ป. , ส. เรขา ว่า ลาย , เส้น ).
เลข [เลก] น. สัญลักษณ์ที่ใช้แทนจํานวนจริง ; วิชาคํานวณ.
เลขกะ [เลขะกะ] น. ผู้เขียน , เสมียน. (ป. , ส.).
เลขนะ [เลขะนะ] น. รอยเขียน, ตัวอักษร, ลวดลาย. (ป. , ส.).
เลขยะ [เลขะยะ] น. การเขียน. (ส.).
เลขา น. ลาย , รอยเขียน , ตัวอักษร , การเขียน. ว. งามดังเขียน. (ป., ส.)
ศิลป , ศิลป์ ๑ , ศิลปะ [ สินละปะ , สิน , สินละปะ ] น. ฝีมือ , ฝีมือทางการช่าง , การทำให้
วิจิตรพิสดาร , เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์ ; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะ การวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์.
( ส. ศิลฺป ; ป. สิปฺป ว่ามีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม ).
จากความหมายสรุปได้ว่า เรข , เรขา , เลขา + ศิลป์ = เรขศิลป์ , เลขศิลป์
เหตุผล 3 ข้อที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่าการใช้คำภาษาไทยที่มาแทนคำว่า graphic design สามารถ
ใช้ได้ทั้ง " การออกแบบเลขศิลป์ " และ " การออกแบบเรขศิลป์ "
* graphic = เรขศิลป์ , เลขศิลป์
graphic design = การออกแบบเลขศิลป์ หรือการออกแบบเรขศิลป์
การออกแบบกราฟิก (Graphic Design)งานกราฟิกเป็นส่วนสำคัญที่มีบทบาทยิ่งต่อการออกแบบและกระบวนการผลิตสื่อ โดยเฉพาะสื่อที่ต้องการการสัมผัสรับรู้ด้วยตา (Visual Communication Design) ได้แก่ หนังสือ นิตยสารวารสาร แผ่นป้ายโฆษณา บรรจุภัณฑ์ แผ่นพับ แผ่นปลิว โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เว็บไซต์ ฯลฯ นักออกแบบจะใช้วิธีการทางศิลปะและ หลักการทางการออกแบบร่วมกันสร้างสรรค์รูปแบบสื่อเพื่อให้เกิดศักยภาพ สูงสุดในการที่จะเป็นตัวกลางของกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร นักออกแบบกราฟิกจะต้องค้นหา รวบรวมข้อมูลต่างๆ ขบคิดแนวทางและวาง รูปแบบที่ดีที่สุดในอันที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย (Target Group) ให้เกิดการรับรู้ยอมรับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการตอบสนองสื่อที่มองเห็น (Visual Message) --วิธีการออกแบบ และวิธีแก้ปัญหาการออกแบบโดยการนำเอารูปภาพประกอบ (Illustration) ภาพถ่าย (Photography) สัญลักษณ์ (Symbol) รูปแบบและขนาดของตัวอักษร (Typography) มาจัดวางเพื่อให้เกิดการนำเสนอข้อมูลอย่างชัดเจน เกิดผลดีต่อกระบวนการ
สื่อความหมาย และแสดงคุณค่าทางการออกแบบอย่างตรงไปตรงมา งานออกแบบกราฟิก จึงมีลักษณะเฉพาะซึ่งมีวิธีการและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างไปจากงานวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) แต่ในบางกรณีผู้ออกแบบก็อาจจะสอดแทรกงานศิลปะแท้ๆ (Pure Arts) เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการออกแบบกราฟิกเพื่อใช้สำหรับกระบวนการสื่อสาร การเรียนรู้ การตลาด การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ซึ่งอาจรวมกันเรียกว่า เป็นงานประยุกต์ศิลป์ (Apply Arts) ถ้าเป็นงานที่มีลักษณะเน้นหนักไปทางด้านธุรกิจ การพาณิชย์ ก็จะเรียกว่าเป็นงานออกแบบพาณิชย์ศิลป์ (Commercial Arts) และถ้าเป็น การเน้นวัตถุประสงค์ในแง่ของการสร้างสรรค์สื่อเพื่อการสื่อความหมายก็จะ รวมเรียกว่าเป็นงานออกแบบทัศนสื่อสาร (Visual Communication Design)
ภาพที่ 29 งานออกแบบพาณิชย์ศิลป์
No comments:
Post a Comment