พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความร้อนที่ถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก โดยปกติแล้ว อุณหภูมิภายใต้ผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตามความลึก กล่าวคือยิ่งลึกลงไปอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้น และในบริเวณส่วนล่างของชั้นเปลือกโลก (Continental Crust) หรือที่ความลึกประมาณ 25-30 กิโลเมตร อุณหภูมิจะมีค่าอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย ประมาณ 250 ถึง 1,000 องศาเซลเซียล ในขณะที่ตรงจุดศูนย์กลางของโลก อุณหภูมิอาจจะสูงถึง 3,500 ถึง 4,500 องศาเซลเซียส
พลังงานความร้อนใต้พิภพ มักพบในบริเวณที่เรียกว่า Hot Spots คือบริเวณที่มีการไหล หรือแผ่กระจายของความร้อนจากภายใต้ผิวโลกขึ้นมาสู่ผิวดินมากกว่าปกติ และมีค่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตามความลึก (Geothermal Gradient) มากกว่าปกติประมาณ 1.5-5 เท่า เนื่องจากในบริเวณดังกล่าว เปลือกโลกมีการเคลื่อนที่ ทำให้เกิดรอยแตกของชั้นหิน ปกติแล้วขนาดของแนวรอยแตกที่ผิวดินจะใหญ่และค่อยๆ เล็กลงเมื่อลึกลงไปใต้ผิวดิน และเมื่อมีฝนตกลงมาในบริเวณนั้น ก็จะมีน้ำบางส่วนไหลซึม ลงไปภายใต้ผิวโลกตามแนวรอยแตกดังกล่าว น้ำนั้นจะไปสะสมตัวและรับความร้อนจากชั้นหินที่มีความร้อนจนกระทั่งน้ำกลายเป็นน้ำร้อนและไอน้ำ แล้วจะพยายามแทรกตัวตามแนวรอยแตกของชั้นหินขึ้นมาบนผิวดิน ปรากฏให้เห็นในรูปของบ่อน้ำร้อน ,น้ำพุร้อน ,ไอน้ำร้อน ,บ่อโคลนเดือด เป็นต้น
ภาพที่ 11 โรงงานที่นำพลังงานความร้อนใต้พิภพมาใช้งาน
พลังงานความร้อนใต้พิภพมีปรากฏตามธรรมชาติในลักษณะน้ำพุร้อนกว่าหกสิบแห่งตามแนวเหนือ - ใต้ แถบชายแดนตะวันตกของประเทศไทย (แนวเทือกเขาตะนาวศรี) สันนิษฐานว่าจะเป็นแหล่งเดียวกันกับที่แคว้นยูนานในประเทศจีนตอนใต้ เนื่องจากอยู่แนวซ้อนของแผ่นทวีปคู่เดียวกัน ( Indian - Plate ซึ่งมุดลงใต้ Chinese Plate และเกิดแรงดันในลักษณะ Back Arch ) จัดอยู่ในแหล่งพลังงานขนาดเล็กถึงปานกลางและคาดว่าจะสามารถผลิตพลังงานให้กับโรงไฟฟ้าขนาดไม่เกิน 50 เมกะวัตต์
ที่มา : - กระทรวงพลังงาน
- http://www.energy.go.th
- http://eng.rmutsb.ac.th/events/WebEnergy/underworld.html
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Archive
-
▼
2010
(24)
-
▼
January
(16)
- ถ่านหิน Coal
- น้ำมันดิบ Oil
- ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas
- พลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Energy
- 2.3 พลังงานสิ้นเปลืองคืออะไร Nonrenewable Energy
- พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy
- พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy
- พลังงานชีวมวล Biomass Energy
- พลังงานคลื่นในทะเล Ocean Tidal Energy
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy
- พลังงานแสงอาทิตย์ SolarCell
- พลังงานลม Wind Energy
- พลังงานน้ำ Wave Energy
- ส่วนที่ 2. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับ พลังงานทดแทน
- ส่วนที่ 1. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอง...
- โครงการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒ...
-
▼
January
(16)
No comments:
Post a Comment