Friday, January 8, 2010

โครงการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทน

ผู้เสนอโครงการ นายกฤษณ์ ชลวัฒน์ นิสิตสาขานิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

ที่มาและความสำคัญของปัญหา
ตามนโยบายของรัฐบาลตามแผนพัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์ พ.ศ.2535โดยการส่งเสริมความรู้เรื่องพลังงานทดแทนให้มีการสร้างจิตสำนึกในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิและประหยัด ก่อให้เกิดการผลิตพลังงานใช้ในครัวเรือน และชุมชนขนาดเล็กที่ต้องการไฟฟ้าใช้ในกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการสร้างความมั่นคงระยะยาวในการจัดหาพลังงานให้กับตนเอง และไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ด้านการบริโภคภายในและการส่งออก ทั้งนี้เพื่อสนองตอบความต้องการของทุกภาคส่วนอย่างเพียงพอ จึงตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ความร่วมมือ ที่นำพาประเทศไปสู่สังคมฐานความรู้ด้านพลังงาน ตามนโยบายแผนพัฒนา ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนดังข้างต้น


ในปัจจุบันประชาชนทั่วไปให้ความสำคัญและสนใจด้านการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อทดแทนการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องหาจากต่างประเทศ ซึ่งนับวันจะมีราคาสูงขึ้น กระทรวงพลังงานได้กำหนดกลยุทธ์การสนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้ด้านการผลิตพลังงานทดแทนอื่นๆ และพลังงานสะอาดก็เป็นพลังงานทางเลือกหนึ่งในการสนับสนุนพัฒนาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ พลังงานสะอาดจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจากเป็นพลังงานจากธรรมชาติ ไม่ต้องซื้อหา ไม่มีราคาค่าเชื้อเพลิง และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบการผลิตไฟฟ้าในอนาคตได้อย่างยั่งยืน และมีความมั่นคงด้านพลังงานกับประเทศได้ในระยะยาว
เทคโนโลยีเกี่ยวกับพลังงานทดแทนนี้ได้รับการพัฒนาไปอย่างมาก รวมถึงการเปลี่ยนรูปพลังงานทดแทนเหล่านี้เป็นพลังงานไฟฟ้า ไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิเฉพาะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเท่านั้น แต่ในอนาคตประชาชนสามารถทำการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานต่างๆ ด้วยตนเอง ตลอดจนเอกชนรายย่อย ๆ หรือชุมชนก็สามารถทำการผลิตไฟฟ้าได้เอง เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาระบบไฟฟ้าจากการไฟฟ้าเพียงระบบเดียว พลังงานทดแทนในประเทศไทยที่มีการใช้งานดังนี้ พลังงานชีวมวล ก๊าซชีวภาพ พลังงานจากลม แสงจากอาทิตย์ ฯลฯ ชนิดของการใช้พลังงานดังกล่าวข้างต้นนี้ ซึ่งจะนำเอาหน้าที่ของแต่ละชนิดนี้มาเป็นแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ด้านพลังงานทดแทนต่อไป
เนื่องด้วยทางกรมฯ ยังขาดสื่อเรขศิลป์ที่เข้าใจได้ง่ายในเรื่องพลังงานแต่ละชนิด เพราะการที่จะเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับพลังงานต่างๆนั้น มีน้อยและยังไม่มากพอต่อความต้องการของประชาชน ข้อมูลที่เป็นเอกสารอย่างเดียวคงยังไม่พอ จึงต้องมีภาพสัญลักษณ์ ซึ่งบ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของแต่ละชนิดพลังงาน เพื่อสะดวกในการให้บริการข้อมูลแก่ประชาชน อีกทั้งยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่องค์กรต่อไป
ด้วยเหตุนี้จึงก่อให้เกิดโครงการออกแบบเรขศิลป์เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน

วัตถุประสงค์ทางการศึกษา
1. เพื่อพัฒนารูปแบบเรขศิลป์และภาพลักษณ์ขององค์กร
2. เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ขององค์กร
ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
1. ได้รับแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์และแนวทางในการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
2. ก่อให้เกิดงานเรขศิลป์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทางเลือก



ขอบเขตการศึกษา
1. ออกแบบภาพต้นแบบสัญลักษณ์ ( Symbolic )
1.1 Symbolic พลังงานน้ำ 1 ชุด
1.2 Symbolic พลังงานลม 1 ชุด
1.3 Symbolic พลังงานชีวมวล 1 ชุด
1.4 Symbolic พลังงานไฮโดรเจน 1 ชุด
1.5 Symbolic พลังงานแสงอาทิตย์ 1 ชุด
1.6 Symbolic พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง 1 ชุด
1.7 Symbolic พลังงานคลื่นในทะเล 1 ชุด
1.8 Symbolic พลังงานความร้อนใต้พิภพ 1 ชุด
1.9 Symbolic พลังงานนิวเคลียร์ 1 ชุด
1.10 Symbolic ก๊าซธรรมชาติ 1 ชุด
1.11 Symbolic น้ำมันดิบ 1 ชุด
1.12 Symbolic ถ่านหิน 1 ชุด
2. ออกแบบตราสัญลักษณ์องค์กร 1 ชุด
3. ออกแบบภาพลักษณ์องค์กร
3.1 นามบัตร (Visiting Card ) 10 แบบ
3.2 จดหมาย (Letters ) 10 แบบ
3.3 เว็บไซด์ (Website ) 10 หน้า
3.4 ธง (Organization flag ) 2 แบบ
3.5 รถบรรทุก (Organization Truck) 2 แบบ
3.6 รถรับส่งพนักงาน (Officer Bus) 1 แบบ
3.7 บัตรพนักงาน (Officer Card ) 1 แบบ
3.8 สมุดพนักงาน (Officer Notebook ) 1 แบบ
3.9 เสื้อพนักงาน (Officer Shirt ) 1 ชุด
3.10 ชุดพนักงาน (Officer Clothes ) 2 ชุด
3.11 ป้ายสัญจร (Sign Travels) 3 ชุด
3.12 ทางเข้าออก (Outside Door ) 1 ชุด
3.13 เคาน์เตอร์ภายใน (Counter Within ) 1 ชุด
4. ออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์
4.1 สื่อนิตยสาร (Magazine Media ) 1 ชุด
4.2 ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ( Billboard ) 1 ชุด

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1.1 รวบรวมข้อมูลของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
1.2 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์
1.3 ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลแนวทางการประชาสัมพันธ์
2. ศึกษาและวิเคราะห์
2.1 ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางในการออกแบบ
2.2 ศึกษาและวิเคราะห์สื่อประชาสัมพันธ์
3. ดำเนินงาน
3.1 สรุปข้อมูลและการเขียนรายงาน
3.2 สร้างสรรค์งานออกแบบ
3.3 นำเสนอผลงาน

สถานที่ทำการศึกษา
1. ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
2. เว็บไซท์กระทรวงพลังงาน
3. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
4. สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยบูรพา

No comments:

Post a Comment