Sunday, January 17, 2010
น้ำมันดิบ Oil
ภาพที่ 20 โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
น้ำมันดิบ มีสถานะตามธรรมชาติ เป็นของเหลวประกอบด้วย สารไฮโดรคาร์บอน ชนิดระเหยง่าย เป็นส่วนใหญ่ และส่วนที่เหลือประกอบด้วย สารกำมะถัน ไนโตรเจน และสารประกอบออกไซด์อื่นๆ ซึ่งมักเรียกว่าเป็นสิ่งปฏิกูล ซึ่งจะมีอิทธิพลต่อคุณภาพ ของผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้ ราคาของน้ำมันดิบ จะถูกหรือแพง ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมันดิบว่า มีสิ่งปฏิกูลเจือปนมากน้อยเพียงใด ผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จากน้ำมันดิบ ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา และยางมะตอย โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการหุงต้ม ในยานพาหนะ และในภาคอุตสาหกรรม น้ำมันเบนซิน ดีเซล และน้ำมันเครื่องบิน จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในภาคคมนาคมขนส่ง ส่วนน้ำมันเตา จะใช้เป็นเชื้อเพลิง ในการผลิตไฟฟ้า ในภาคอุตสาหกรรม และในการขนส่งทางน้ำ เมื่อมีการนำน้ำมันเชื้อเพลิง ไปเผาไหม้ ก็จะมีฝุ่นละออง เขม่า และก๊าซที่ถูกปล่อยออกมา ระหว่างขบวนการเผาไหม้ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุม ในเรื่องของคุณภาพน้ำมัน และการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มาช่วยในการควบคุมเพื่อลดปริมาณ ฝุ่นละออง และก๊าซดังกล่าวไม่ให้เป็นอันตราย ต่อสุขภาพของประชาชน และสิ่งแวดล้อม
ที่มา : - สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มิถุนายน 2542.
- http://www.eppo.go.th/doc/doc-AlterFuel.html
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Archive
-
▼
2010
(24)
-
▼
January
(16)
- ถ่านหิน Coal
- น้ำมันดิบ Oil
- ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas
- พลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Energy
- 2.3 พลังงานสิ้นเปลืองคืออะไร Nonrenewable Energy
- พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy
- พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy
- พลังงานชีวมวล Biomass Energy
- พลังงานคลื่นในทะเล Ocean Tidal Energy
- พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy
- พลังงานแสงอาทิตย์ SolarCell
- พลังงานลม Wind Energy
- พลังงานน้ำ Wave Energy
- ส่วนที่ 2. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวกับ พลังงานทดแทน
- ส่วนที่ 1. เอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับอง...
- โครงการออกแบบเรขศิลป์และสื่อประชาสัมพันธ์ของกรมพัฒ...
-
▼
January
(16)
No comments:
Post a Comment